ถ่ายทำวิดีโอ : วิธีการเลือกเลนส์สำหรับถ่ายวีดีโอ ให้เหมาะสม

ถ่ายทำวิดีโอ : วิธีการเลือกเลนส์สำหรับถ่ายวีดีโอ ให้เหมาะสม

ถ่ายทำวิดีโอ สำหรับใครที่ชื่นชอบการถ่ายภาพเป็นชีวิตจิตใจ และอยากเป็นนักถ่ายภาพ อยากเป็นช่างกล้องถ่ายทำวีดีโอต่าง ๆ จำเป็น ต้องเรียนรู้ เทคนิคถ่ายภาพ อย่างเช่น การเลือกเลนส์ที่เหมาะสมสำหรับภาพที่ต้องการ และการถ่ายทำทั้งหมด 

ถือว่าเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ ความรู้เกี่ยวกับการเลือกเลนส์กล้องเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะฉะนั้นในวันนี้เราจะมาแนะนำเลนส์พื้นฐานทั้งหมดที่มือใหม่ควรศึกษาก่อนเริ่มต้นทำการถ่ายทำวีดีโอ มีเลนส์อะไรกันบ้างไปรับชมกันได้เลย

ถ่ายทำวิดีโอ

เลนส์ไวด์ Wide Angle เลนส์มุมกว้าง ใช้งงานง่าย ใช้งานได้หลายแบบ

  • ·        ความยาวโฟกัส : Full-Frame ประมาณ 24-40 มม.  
  • ·        APS-C กล้องตัวคูณ : 15-24 มม. 4/3 : 10-17 มม.

หลังจากที่เราซื้อ เลนส์คิท และเลนส์ฟิก สิ่งต่อมาที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ เลนส์ไวด์ เลนส์ไวด์เหมาะสำหรับการถ่ายรูปหรือวีดีโอที่ต้องการเก็บทั้งแบบและฉาก ทั้งในมุมแคบและมุมกว้าง เชื่อว่าทุกคนที่ทำการถ่ายทำวีดีโอทั้งหมดจำเป็นต้องซื้ออย่างแน่นอน 

เลนส์ตัวนี้มีความพิเศษมากสำหรับการถ่ายทำโดยเน้นภาพมุมกว้าง เป็นเหมือนกับใช้ เทคนิคถ่ายภาพสินค้า เพราะว่าจะได้ภาพที่มีความชัดลึกที่สูง สามารถจับโฟกัสวัตถุที่ต้องการถ่ายได้ชัดเจนแม้ว่าจะอยู่ใกล้ หรืออยู่ไกลออกไปเท่าไหร่ก็ตาม 

แต่ก็ยังมีข้อเสีย เพราะว่าภาพที่ได้อาจเกิดการบิดเบือนเล็กน้อย เหมือน ถ่ายภาพสินค้า วัตถุที่ถูกโฟกัสอาจมีขนาดเล็กลงมากกว่าปกติเล็กน้อย หรือถ้าวัตถุอยู่ในระยะไกลเกินไป จะดูมีระยะไกลเกินกว่าความเป็นจริงที่ตาคนมองเห็น และอาจเกิดภาพโค้งบริเวณขอบของภาพ

ถ่ายทำวิดีโอ

เลนส์ Standard มาตรฐาน ถูกใช้งานทั่วไป ถ่ายได้หมด

  • ·        ความยาวโฟกัส : Full-Frame ประมาณ 50 มม.
  • ·        APS-C ประมาณ 35 มม. 4/3 : 20-25 มม.

            เลนส์กล้องที่มือใหม่ทุกคนใช้กันตอนเริ่มต้นเพื่อเปิดประสบการณ์ครั้งแรกในการ รับถ่ายทำวีดีโอ เลนส์กล้องประเภทนี้เราจะได้ตามสถานที่ต่างๆ ที่มีการถ่ายทำวีดีโอโดยไม่หวังจะให้มีความพิเศษอะไรในการถ่ายทำ 

เหมาะสำหรับการถ่ายภาพธนนชาติ หรือวิวทั่วไป เพราะว่าให้มุมมอง REAL และเป็นธรรมชาติมากที่สุด ในบางครั้งนักเล่นกล้องหลายคนเรียกมันว่า เลนส์ติดกล้อง ใช้งานง่าย พกพาสะดวก เพราะว่ามีขนาดเล็ก 

และสามารถจับภาพได้ไว้ มีรูรับแสงให้เราได้เลือกตั้งแต่ สูงยันต่ำ แต่เลนส์ประเภทนี้ไม่สามารถเจาะจงรูปภาพอะไรได้เป็นพิเศษ เพราะฉะนั้นจึงมีความคมชัดของรูปภาพไม่มากเท่ากับเลนส์รูปแบบอื่น แต่นิยมใช้ในการถ่ายภาพใน สตูดิโอ ถ่ายภาพ

ถ่ายทำวิดีโอ

เลนส์ Medium Telephoto จับภาพได้ค่อนข้างเร็ว คุณภาพดี

  • ·        ความยาวโฟกัส : Full-Frame ประมาณ 85-100 มม.
  • ·        APS-C : ประมาณ 50-60 มม. 4/3: 35-50 มม.

เลนส์ Medium Telephoto หรือที่รู้จักกันดีว่าเป็น เลนส์เทเลระยะกลาง ข้อดีของมันก็คือ เป็นเลนส์ที่สามารถจับภาพได้ค่อนข้างเร็ว ในบางรุ่นจะถ่ายภาพได้ดีมาก เพราะว่ามีรูรับแสงที่กว้างมาก จะดีมากกับการถ่ายทำ

ในสถานที่ที่มีแสงน้อย และ ถ่ายภาพมุมสูง ทำให้เราได้ภาพที่มีความสวย และคมชัดมากยิ่งขึ้น นี่คือกล้องที่มีคุณภาพดีสมราคา และใช้งานได้หลากหลายโดยเฉพาะการถ่ายทำในช่วงตอนกลางคืน ที่สำคัญยังมีราคาไม่แพงอีกด้วย

ถ่ายทำวิดีโอ

เลนส์ Telephoto ยิงระยะไหล ละลายหลัง

  • ·        ความยาวโฟกัส : Full-Frame: 135 มม. ขึ้นไป
  • ·        APS-C : 85 มม. ขึ้นไป 4/3 : 60 มม. ขึ้นไป

อีกตัวหนึ่งที่เป็นเลนส์เทเล แต่เป็นระยะที่ไกลมากขึ้น สำหรับใครที่อยากถ่ายภาพแล้วได้มุมมองแบบราบเรียบละลายหลัง โฟกัสวัตถุที่มีขนาดไกลให้เข้ามาอยู่ใกล้ เลนส์ตัวนี้ถือว่าตอบโจทย์ได้ 100% เพราะว่ามีจุดโฟกัสไกลมากๆ 

แต่เนื่องจากสามารถดึงภาพได้ไกลสิ่งหนึ่งที่เป็นข้อเสียของตัวมันเองก็คือ มันค่อนข้างจะมีน้ำหนักมาก เราจำเป็นจะต้องใช้ขาตั้งกล้องช่วยในการถ่ายทำ เพราะว่าไม่อาจจะสามารถถือได้ด้วยมือ แต่ถ้าต้องการ ถ่ายภาพจากกล้องโทรศัพท์ ต้องใช้โหมด portrait

ถ่ายทำวิดีโอ

เลนส์ Ultrawide ใช้งานง่าย ความชัดลึกสูง

  • ·        ความยาวโฟกัส: Full-frame : น้อยกว่า 24 mm.
  • ·        APS-C : น้อยกว่า 16 mm. 4/3: น้อยกว่า 10 mm

เลนส์อีกหนึ่งแบบที่เราควรมีติดตัวไว้ก็คือ เลนส์ Ultrawide เพราะว่าการถ่ายทำภาพจะมีระยะที่พอดีกับฉาก ที่สำคัญมันใช้งานง่าย เราจะได้ภาพที่มีความชัดลึกสูง แต่ตัวของมันเองก็มีข้อเสียเช่นกัน 

เพราะว่าภาพบนขอบจะมีความบิดเบือนหรือมีความโค้งเล็กน้อย แต่สิ่งที่ได้มาก็คือภาพจะมีความสวยงาม และสมจริงอย่างมาก ที่สำคัญภาพจะมีความเป็นมิติมากขึ้นอย่างชัดเจน ไม่ต่างจากการทำงานในสายงาน บริษัทถ่ายโฆษณา

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก เพจ ดีเอสออร์แกไนซิ่ง จำกัด

Leave a Reply

%d bloggers like this: